2 สรรพคุณสมุนไพร สูตรลับดูแลตัวเองง่ายๆ รักษาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลโรค #สมุนไพรไทย


เรามารู้จักความหมายของ "สมุนไพรไทย" กันสักเล็กน้อย ตามกฎหมายพระราชบัญญัติยาไทยกันคะ

"สมุนไพร" ตามพระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ 

ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆแต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่างๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น

พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษาโรคต่างๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้..."

ประโยชน์ของสมุนไพร
  1. สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น
  2. ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
  3. สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท
  4. มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
  5. ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
  6. ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
  7. ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
  8. ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
  9. สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
  10. ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
  11. ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
  12. เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
  13. เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
  14. ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
  15. ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย

วันนี้ ผู้เขียนนำสมุนไพรยอดฮอตในยุคนี้ เพราะเป็นกระแสในยุคแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ผู้เขียนเอง ก็นำสมุนไพรทั้งสองสูตรนี้มาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารและเครื่องดื่มรับประทานในช่วงนี้เช่นกัน

สมุนไพรยอดฮอต 2 สรรพคุณ บำรุงรักษาโรคได้ดี

1. สรรพคุณ "ขิงไทย"

พูดถึง ขิงไทย เชื่อว่าหลายคนต้องรู้จักแน่นอน เพราะตั้งแต่เราเจอปัญหาโควิด-19 พวกเราต้องเอาชนะสงครามครั้งใหญ่ คือ เอาชนะต่อโรค ด้วยการดูแลตัวเองและหาเครื่องดื่ม อาหารสมุนไพร โดยเฉพาะ ขิงไทย เป็นยาอันวิเศษ ในการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี  เรามารู้จักสรรพคุณต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง 
1. ต้านโรคหวัด

“ขิง” สมุนไพรเผ็ดร้อนชนิดนี้แหละที่มีคุณสมบัติต้านโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ได้ ดังที่งานวิจัยกล่าวว่า ขิงช่วยปกป้องระบบทางเดินหายใจจากเชื้อโรคต่างๆ ขจัดเชื้อไวรัส นอกจากนั้นการบริโภคขิงยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ เรียกได้ว่าใครเป็นหวัดต้องจิบน้ำขิงนี่แหละดีที่สุด

2. บรรเทาอาการคลื่นไส้
จริงๆ แล้วขิงสามารถช่วยให้คุณหายจากอาการคลื่นไส้ได้หลายรูปแบบ อาทิ เมารถ เมาเรือ แพ้ท้อง หรือแม้กระทั่งอาการคลื่นไส้ที่เกิดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง (หลังได้รับเคมีบำบัด) แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยจะดีกว่า

3. บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
จากการศึกษาพบว่า การบริโภคขิงวันละ 2 กรัม เป็นเวลา 11 วัน ช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำได้ เพราะงั้นหลัง Workout จิบชาขิงสักแก้วจะเป็นไรไป

4. ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม
ขิงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย การจากศึกษาพบว่า ผู้ที่บริโภคหรือใช้สารสกัดที่ทำจากขิงมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อน้อยลง ส่งผลให้ต้องลดการรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดี

5. ต้านโรคเบาหวาน
มีงานวิจัยกล่าวว่า ขิงมีคุณสมบัติปกป้องคุณจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานขิงวันละ 2 กรัมต่อวัน ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง 12% จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มากไปด้วยประโยชน์จริงๆ

6. บรรเทาอาการท้องอืด
ใครที่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เราแนะนำให้กินเมนูต่างๆ จากขิงเลย เพราะสมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์ในการช่วยย่อย บรรเทาอาการปวดบริเวณส่วนบนของกระเพาะอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆอีกต่างหาก

7. ลดอาการปวดประจำเดือน

คุณสมบัติข้อนี้ผู้หญิงทุกคนควรจำให้มั่น ขิงช่วยลดอาการปวดประจำเดือน! ในการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานขิงวันละ1 กรัมในช่วง 3 วันแรกของการมีประจำเดือนมีอาการปวดน้อยลง การดื่มน้ำขิงสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดช่วงวันนั้นของเดือนได้พอๆ กับกินยาแก้ปวดเลยนะ

8. ลดระดับคอเลสเตอรอล

ขิงสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลไม่ดีในร่างกายได้ มีงานวิจัยกล่าวว่า ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงรับประทานขิงวันละ 3 กรัมต่อวัน ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงอย่างชัดเจน แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานนะ

อ่านเพิ่มเติม <<คลิก>>

2. สรรพคุณกระซายแดงไทย
ลักษณะของกระชายแดง

ต้นกระชายแดง จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออาจเรียกว่า "หัวกระชาย" หรือ "นมกระชาย" หรือ "กระโปก" ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม ส่วนขนาดของลำต้น ขนาดใบ เหง้าหรือรากจะเล็กกว่ากระชายเหลือง มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 30-80 เซนติเมตร เหง้าเรียวยาว ออกเป็นกระจุก ลักษณะของรากหรือเหง้าสะสมอาหารจะมีลักษณะเป็นแท่งกลม เรียวยาว พองตรงกลางและฉ่ำน้ำ เหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นหอมอ่อนไม่แรงเหมือนกระชายเหลือง ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดี เป็นที่ร่ม และในช่วงฤดูฝนจะแตกยอดขึ้นเหนือพื้นดิน หรืออาจเกิดได้ตลอดทั้งปีหากดินมีความชื้นสูง ส่วนกาบใบมีลักษณะซ้อนกันหลายชั้น มีสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ สามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ

ใบกระชายแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวหรือเป็นรูปใบแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบขนาน มีความกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเรียบและเป็นมัน ก้านใบเป็นร่อง มีลิ้นใบบางใสที่ส่วนบนของกาบใบ โคนกาบใบและหลังใบมีสีแดงเรื่อ ๆ ส่วนที่กาบใบที่ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มลำต้นและหลังใบด้านล่าง

ดอกกระชายแดง ดอกออกเป็นช่อ โดยช่อดอกจะยื่นยาวโผล่ขึ้นมาจากกลางยอดระหว่างใบ โดยจะโผล่เฉพาะส่วนที่เป็นกลีบดอกและส่วนของใบประดับ ดอกมีใบประดับหุ้มช่อดอก กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 3 หยักสั้น ๆ บางใส ส่วนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว กลีบดอกมีสีชมพูอ่อน 3 กลีบ กลีบด้านบนมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มีสีชมพูอ่อนถึงสีชมพู ส่วนกลีบด้านล่างมี 2 กลีบ จะอยู่บริเวณใต้กลีบปาก ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก มีปลายแหลม มีสีชมพูอ่อน ๆ ส่วนเกสรตัวผู้ ส่วนที่เป็นกลีบอยู่บนปลายยอดกลีบดอกจะมี 3 หยักแยกจากกัน โดยหยักบนจะมี 2 หยัก มีขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลม มีสีชมพูอ่อน ส่วนหยักล่างมี 1 หยัก มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นรูปไข่กลับ กลางกลีบโค้งคล้ายท้องเรือ ส่วนปลายแผ่ขยายกว้าง ที่ขอบเป็นลอน พื้นมีสีชมพูมีสีแดงแต้มด้วยสีชมพูเข้ม ส่วนริมขอบปากเป็นลอนเล็กน้อย ก้านเกสรสั้น ลักษณะโค้งเล็กน้อย ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีสีขาวแกมชมพูอ่อน ที่โคนก้านเกสรจะมีต่อม 2 ต่อม ลักษณะเป็นรูปเรียวยาว และดอกย่อยของกระชายแดงจะทยอยบานทีละดอก

ผลกระชายแดง ผลแก่มีพู 3 พู และมีเมล็ดอยู่ภายในผล

สรรพคุณกระชายแดง
  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการใช้หัวตากแห้งนำมาบดละเอียดละลายผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนกินเป็นประจำก่อนอาหารเช้าและเย็น (หัว)
  2. ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้กระชุ่มกระชวย (หัว)
  3. ช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น (หัว)
  4. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ด้วยการใช้หัวแห้งนำมาบดผสมกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอนรับประทาน (หัว)
  5. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว (หัว)
  6. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน (หัว)
  7. ช่วยรักษาโรคในช่องปากต่าง ๆ แก้ปากเปื่อย ปากแตก มีแผลในช่องปาก (หัว)
  8. ช่วยรักษามะเร็งเม็ดเลือด จาการวิจัยใหม่พบว่ากระชายแดงเป็นส่วนประกอบในการรักษามะเร็งเม็ดเลือด (BVHJ) ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ กระชายแดงทั้งต้น 50 กรัม, แพงพวยดอกขาวทั้งต้น 50 กรัม, หญ้างวงช้างทั้งต้น 50 กรัม, และสบู่แดงทั้งต้น 50 กรัม นำมาบดรวมกันให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำร้อนดื่มหลังอาหารครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 3 เวลา (ทั้งต้น)
  9. ช่วยรักษามะเร็งกระดูก (BOE) โดยใช้กระชายแดงนำมาบดให้เป็นผง ใช้กินก่อนอาหารครั้งละ 2 ช้อนชา (ไม่ระบุว่ากินอย่างไร แต่คาดว่าน่าจะใช้ชงกับน้ำร้อนดื่ม) วันละ 3 เวลา อาการจะดีขึ้น (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน)
  10. ช่วยแก้ลมอันเกิดแก่กองหทัยวาตะหรือลมในหัวใจ ที่ทำให้จิตใจระส่ำระสาย แก้อาการใจสั่น (หัว)
  11. ช่วยแก้อาการปวดมวนในท้อง (หัว)
  12. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียดได้ดี มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการจุกเสียดแน่น (หัว)
  13. สาร Cineole ในกระชายแดงมีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้ จึงช่วยลดอาการปวดเกร็งได้
  14. ช่วยแก้อาการปวดเบ่ง (หัว)
  15. ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (หัว)
  16. ช่วยรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (หัว)
  17. ช่วยแก้โรคพยาธิ ด้วยการใช้หัวนำมาปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานก่อนเข้านอนทุกวัน (หัว)
  18. ช่วยขับระดูขาว แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี (หัว)
  19. น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร
  20. ป้องกันมะเร็งและช่วยทำให้ตับทำงานกำจัดสารพิษได้ (หัว)
  21. จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า สาร Pinostrobin ในกระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกลาก 3 ชนิด และช่วยต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาวในสตรี
  22. ช่วยป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม (หัว)
  23. กระชายแดงมีสรรพคุณที่เหมือนกับกระชายเหลือง โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ สรรพคุณและประโยชน์ของกระชาย 49 ข้อ ! (กระชายเหลือง)
  24. ตามตำราว่านระบุว่าสรรพคุณของกระชายแดงนั้นเหมือนสรรพคุณของกระชายดำทุกอย่าง เพียงแต่ว่าจะมีความพิเศษกว่าก็ตรงที่การนำมาใช้รักษาผู้ที่ถูกคุณไสย โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายดำ 45 ข้อ !

ประโยชน์ของกระชายแดง
  • หน่ออ่อนสามารถนำมาใช้ปรุงรสในน้ำยาขนมจีน และใช้บริโภคเป็นผัดสดร่วมกับน้ำพริกได้
  • มีการนำกระชายแดงมาใช้เพื่อแก้การถูกคุณไสย ด้วยการใช้หัวนำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน แล้วเสกด้วยคาถาบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ "อิติปิโสภะคะวา จนถึง ภะคะวาติ" ให้ครบ 16 จบ ก่อนนำให้ผู้ถูกคุณไสยรับประทาน หรือนำมาใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี


วิธีทำกระชายแดงง่ายๆ ด้วยตัวเอง   <<คลิก>>

รวมสมุนไพรยอดนิยม
ขมิ้นชัน (ขมิ้นแกง)
ว่านหางจระเข้ย่านาง (เถาย่านาง)
รางจืดกระชาย (กระชายเหลือง)
ปลาไหลเผือก (ตงกัตอาลี)
รากสามสิบ (สาวร้อยผัว)
อบเชยฟ้าทะลายโจรถั่งเช่า (ตังถั่งเช่า)
บัวบกลูกใต้ใบ (หญ้าใต้ใบ)
งาดำชาเขียว
กระเจี๊ยบ
แดงหญ้า
หวานว่าน
ชักมดลูก
เจียว
กู่หลาน
บอระเพ็ด
กระชายดำ
ผักคาวตอง (พลูคาว)
เพชรสังฆาต
กวาวเครือขาว
การบูรฝาง (ฝางเสน)
ว่านดอกทอง (ว่านรากราคะ)
โสมเกาหลี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ <<คลิก>> :

อ้างอิง : ข้อมูล สมุนไพรไทย ตามข้อมูลด้านล่างคะ สามารถ คลิกดูสรรพคุณ ลิงค์ตามนี้คะ

ที่มา : กระซายแดง จาก medthai

คลิปวีดี  : จาก facebook  โดยผู้เขียนจัดทำเอง

ออกแบบตกแต่งปกและภาพประกอบ  จาก : canva : จาก pixabay


  โดย  อมรรัตน์ บุญฤทธิ์ : Ami  Lawyer  ผู้เขียนบทความ & Ebook 









ความคิดเห็น